Part of Speech คืออะไร?
7168 views | 20/11/2021
Copy link to clipboard
Phatt Jpol
Content Creator


หากจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มีพื้นฐานแน่นและต่อยอดไปได้ไกลนั้น นอกจาก Tense และคำศัพท์ต่าง ๆ แล้ว ทุกคนก็จะต้องรู้จักกับ Part of Speech ด้วยเช่นกัน เพราะคือ ชนิดของคํา ภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในแกรมม่าหรือไวยากรณ์ในที่ใช้ในการ แต่งประโยคภาษาอังกฤษ นั่นเอง ดังนั้นเราจะต้องรู้จักประเภทของคำทุกชนิดให้ถ่องแท้เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้ถูกบริบท ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับความรู้เรื่องนี้ในฉบับที่เข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน แต่ละเอียดแบบม้วนเดียวจบ เพื่อที่ทุกคนจะได้เอาไปแต่งประโยคอังกฤษได้อย่างเจ้าของภาษากัน



1. Noun (คำนาม)

Noun หรือคำนามในภาษาไทยคือคำที่ใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ วันเวลา กิจกรรม อารมณ์ สภาวะ ความรู้สึกและอื่น ๆ อีกมากมายทั้งสิ่งที่จับต่อได้และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ โดยคำนามจะแบ่งออกเป็นคำนามทั่วไป (Common Noun) และคำนามเฉพาะเจาะจง (Proper Noun) 


1.1 คำนามทั่วไป (Common Noun)

คำนามแทนคน สัตว์ สิ่งของ วันเวลาและสถานที่ต่าง ๆ แต่ทั้งนี้คำนามทั่วไปก็ยังถูกแบ่งเป็นนามที่เป็นรูปธรรม (Concrete Noun) และนามธรรม (Abstract Noun) อีกด้วย

  • คำนามรูปธรรม คือ คำนามที่เราสามารถรับรู้และสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ (รูป รส กลิ่น เสียง) – car, view, sweet, sour, scent, stink, noise, music, soft, sharp
  • คำนามนามธรรม คือ คำนามที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดหรือมโนทัศน์ – happiness ,fear, bravery, trust, communication, opportunity, day, weekend


ตัวอย่าง

  • คน – men, mother, baby, children, laywer 
  • สัตว์ – tiger, fish, insect, amphibian
  • สิ่งของ – comic, helmet, blender, vase
  • วันเวลา – week, hour, afternoon, year 
  • สถานที่ – bakery, court, laundromat, mall 
  • กิจกรรม – research, swimming, show, travel 
  • ความรู้สึก, ความคิด – creativity, sorrow, energy 


1.2 คำนามเฉพาะเจาะจง (Proper Noun) 

คำนามเฉพาะเจาะจงคือชื่อที่ใช้เรียกคำนามนั้น ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น Mary (แมรี่), Bangkok (กรุงเทพฯ), Mickey Mouse (มิกกี้), Samsung (ยี่ห้อซัมซุง), Honda (ยี่ห้อรถฮอนด้า), Kasikorn Bank (ธนาคารกสิกรไทย), Chirstmas (วันคริสมาสต์) เป็นต้น 


2. Pronoun (คำสรรพนาม) 

Pronoun หรือคำสรรพนามคือคำที่ใช้เรียกแทนนามต่าง ๆ ที่เราได้พูดถึงไปเมื่อสักครู่ เพื่อความสะดวกต่อการเรียกแทนโดยไม่ต้องพูดชื่อซ้ำ และเพื่อให้ได้ใจความที่มีความกระชับมากขึ้น โดยเราจะแบ่งคำสรรพนามออกเป็น 4 ประเภทเบื้องต้นดังนี้ 


2.1 Personal Pronoun (สรรพนามใช้แทนบุคคล)


  • สรรพนามในฐานะประธานของประโยค 

I (ฉัน), you (คุณ), we (พวกเรา), they (พวกเขา), he (เขา), she (หล่อน), it (มัน – ใช้กับสัตว์สิ่งของ) 

  • สรรพนามในฐานะกรรมของประโยค 

me, you, us, them, him, her, it 


2.2 Reflexive Pronoun (สรรพนามสะท้อนตัวบุคคล - ตัวเอง, เธอเอง, พวกเขาเอง) 

Myself (ฉันเอง) , yourself (คุณเอง), himself (เขาเอง), herself (เธอเอง), itself (มันเอง), ourselves (พวกเราเอง), themselves (พวกเขาเอง) 


2.3 Demonstrative Pronoun (สรรพนามชี้เฉพาะ) 

this (นี่), that (นั่น), these (พวกนี้), those (พวกนั้น) 


2.4 Possessive Pronoun (สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ) 

  • Adjective Pronoun สรรพนามขยายนามที่ต้องตามด้วยนาม เช่น my (ของฉัน), your (ของคุณ), his (ของเขา), her (ของเธอ), its (ของมัน), our (ของพวกเรา), their (ของพวกเขา)
  • Possessive Pronoun สรรพนามที่ไม่ต้องตามด้วยนาม ใช้ไว้วางท้ายประโยค mine, yours, his, hers, its, ours, theirs 



3. Verb (คำกริยา) 

Verb หรือคำกริยาคือคำที่ใช้บอกการกระทำของประธาน โดยถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ให้เข้าใจเบื้องต้นก่อนดังนี้ 


3.1 Transitive Verb (สกรรมกริยา)

กริยาที่ต้องมีกรรมมารับต่อ ไม่เช่นนั้นความจะไม่สมบูรณ์หรือไม่สามารถสื่อได้ เช่น give, look, smell, buy


3.2 Intransitive Verb (อกรรมกริยา)

กริยาที่มีความหมายในตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารับต่อก็สามารถนำไปใช้ได้เลย เช่น run, dance, sit, sleep 


3.3 กริยาช่วย (Helping Verb)

กริยาที่อยู่ตาม Tense ต่าง ๆ เพื่อแสดงกาลเวลานั้น ๆ ทำให้ประโยคสมบูรณ์ มักจะอยู่หน้ากริยาหลัก ของประโยคเสมอ เช่น is, am, are, do, did, have, has, will, would, can, could, may, might 

นอกจากนี้ยังมี Irregular Verbs (กริยาอปกติ) และ Regulars Verb (กริยาปกติ) ที่แบ่งออกไปตามการผัน Verb ทั้งสามช่องอีกด้วย ซึ่งสามารถแยกออกได้ง่าย ๆ เลย เพราะ Irregular Verbs จะมีการผันกริยา 3 ช่องที่เหมือนกันทั้งหมดหรือไม่เหมือนกันเลย เช่น cost-cost-cost และ go-went-gone หรือก็เหมือนกันแค่บางช่องอย่าง leave-left-left แต่สำหรับ Regulars Verb จะหน้าตาเปลี่ยนไปเพียงแค่เติม -ed เท่านั้น โดยไม่ต้องผัน เช่น arrived, played, walked, danced, called, waited เป็นต้น 


4. Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) 

Adverb หรือ คำกริยาวิเศษณ์ มีไว้เพื่อขยายกริยาของประโยค แต่บางครั้งก็ขยายคำคุณศัพท์ของประโยคและบอกความถี่ต่าง ๆ ซึ่ง Adverb สามารถวางไว้หลายจุดในประโยค ไม่ว่าจะเป็นหลังกริยา วางหน้าคำคุณศัพท์ ระหว่างกริยาหรือหน้า Adverb ด้วยกันเองก็ได้นะ แต่ต้องดูบริบทด้วยเช่นกัน


4.1 Adverb of Time (กริยาวิเศษณ์บอกเวลา) lately, now, then, just, finally, yesterday

4.2 Adverb of Place (กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่) above, outside, here, there, into, everywhere 

4.3 Adverb of Manner (กริยาวิเศษณ์บอกอาการ) carefully, loudly, kindly, sadly, slowy, well 

4.4 Adverb of Frequency (กริยาวิเศษณ์บอกความถี่) always, usually, annually, constantly, never

4.5 Adverb of Certainty (กริยาวิเศษณ์บอกความแน่ใจ) surely, definitely, probably, undoubtedly, likely, almost 

4.6 Adverb of Degree (กริยาวิเศษณ์บอกระดับ) extremely, very, pretty, slightly, quite, totally, 



5. Adjective (คำคุณศัพท์) 

คำคุณศัพท์ Adjective คือคำที่ใช้ขยายคำนามหรือสรรพนาม ขยายคำนาม เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนมากขึ้น มักจะอยู่หน้าคำนามหรือหลัง Verb to be เพื่อเติมเต็มประโยค รวมถึงหลัง linking verb ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Adjective ที่ใช้บ่อยจะมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน 


5.1 Descriptive Adjective (คำคุณศัพท์บอกลักษณะ) 

Tall, short, fat, thin, fool, clever, stupid, old, young, marvellous, friendly, vain, intrigue, lucky, narrow, loose, nasty, easy, busy, fast, slow, big, small, expensive, cheap, tasty, delicious, yellow, red, black, dark, light, bright, nice, good, bad

นอกจากนี้ Verb ที่เติม -ed ก็ยังสามารถนำใปใช้เป็น Adjective ได้เช่นกัน เช่น broken, dejected, asked, confused, exhausted, tired, excited, relaxed, depressed, satisfied, shocked, surprised เป็นต้น 


5.2 Proper Adjective (คำคุณศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเชื้อชาติ ภาษาหรือลัทธิกลุ่มคน)

Thailand, Chinese, Christian, Martian, Italian 


5.3 Quantitative Adjective (คำคุณศัพท์บอกปริมาณ) 

much, many, little, some, enough, sufficient, great, more, less 


6. Preposition (คำบุพบท)

Preposition หรือคำบุพบท คือคำที่ใช้เชื่อมคำในประโยคหรือเชื่อมนามกับวลีเข้าด้วยกัน เพื่อบ่งบอกถึงวัน เวลา สถานที่ ตำแหน่งและลักษณะขององค์ประกอบในประโยค เช่น at, in, on, of, with, after, above, across, against, along, among, around, before, behind, below, beneath, beside, between, in, into, near, of, off, on, to, toward, under, upon, within, by, down, from เป็นต้น 



7. Conjunction (คำสันธาน) 

Conjunction หรือคำสันธาน มีหน้าที่ในการเชื่อมองค์ประกอบในประโยคเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคำ กลุ่มคำและประโยค เพื่อให้มีความสมบูรณ์ โดย Conjuntion จะมี 3 ประเภทด้วยกันด้านล่างนี้ 


7.1 Coordinating Conjunction

คำสันธานประเภทนี้ช่วยในการเชื่อมคำหรือประโยคประเภทเดียวกันหรือมีความสำคัญเท่า ๆ กัน ได้แก่ and, yet, but, for, so, for, nor, or 


7.2 Subordinating Conjunction

คำสันธานชนิดนี้มีหน้าที่เชื่อมประโยคที่มีน้ำหนักความสำคัญไม่เท่ากันหรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นคำที่ใช้เชื่อมประโยคหลักกับประโยครองให้สัมพันธ์กันนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย when, as, until, before, after, because, although, since, that, if, unless, as soon as


7.3 Correlative Conjunction

Correlative Conjunction ใช้เหมือนกับคำสันธานประเภทแรก แต่จะเป็นคำเชื่อมที่ต้องมาคู่กันเสมอ แยกจากกันไม่ได้เสมือนเกิดมาคู่กัน เช่น either...or, neither... nor, both...and, not only...but also, whether...or 


8. Interjection (คำอุทาน)

มาถึงคำประเภทสุดท้ายแล้ว ซึ่งนั่นก็คือคำอุทานหรือที่เรียกว่า Interjection มีไว้ใช้เพื่อแสดงความรู้สึกของผู้พูดในอารมณ์ต่าง ๆ ออกมาในรูปแบบคำอุทาน เช่น Hey! / Ouch! / Ah! / Well / Eww! / Ahem! / Bingo! / Meh! / Phew! / Wow! / Uh-huh! 


จบแล้วกับ Part of Speech ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ เราหวังว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจภาษาอังกฤษและ ชนิดของคํา ภาษาอังกฤษ กันมากขึ้น เพราะเมื่อเรารู้จักองค์ประกอบในประโยคดีแล้ว เราก็จะสามารถนำคำต่าง ๆ เหล่านี้ไป แต่งประโยคภาษาอังกฤษ ได้ง่าย ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น แต่จะให้เก่งจริง ๆ ก็ต้องฝึกฝน และนำไปใช้บ่อย ๆ รับรองว่าคุณจะเก่งภาษาอังกฤษได้เร็วแน่นอน